เมนู

อาศัยจักษุ หรือวิญญาณเกิดแต่จักษุ. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
วิญญาณและกายวิญญาณก็เหมือนกัน. แต่อีกวิญญาณหนึ่ง ชื่อว่า มโน-
วิญญาณ เพราะอรรถว่าวิญญาณคือใจ. คำนี้เป็นชื่อของวิบากจิตที่เป็นไป
ในภูมิ 3 ที่เว้นทวิปัญจวิญญาณ.
ใน

สังขารนิเทศ

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
สังขารมีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ ก็ในการจำแนกสังขารนั้น มี
อธิบายดังนี้ สังขารที่เป็นทางกาย ชื่อกายสังขาร. คำว่า กายสังขารนี้
12 ที่เป็นไปด้วยอำนาจไหวกายทวาร. คำว่า วจีสังขารนี้ เป็นชื่อแห่ง
วจีสัญเจตนา 20 เหมือนกัน ที่เป็นไปด้วยอำนาจการเปล่งวาจาในวจี-
ทวาร. สังขารที่เป็นไปทางจิต ชื่อว่าจิตตสังขาร. คำว่า จิตตสังขาร นี้
เป็นชื่อแห่งมโนสัญเจตนา 29 คือกุศลจิต 17 อกุศลจิต 12 อันเป็น
ฝ่ายโลกิยะ ที่เป็นไปแก่บุคคลผู้ไม่ทำการไหวในกายทวารและวจีทวาร
นั่งคิดอยู่ในที่ลับ.
ใน

อวิชชานิเทศ

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทุกฺเข อญาณํ ได้แก่ความไม่รู้ในทุกขสัจจะ คำนี้เป็น
ชื่อของโมหะ. ในคำว่า สมุทเย อญาณํ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในสัจจะ 4 นั้น พึงทราบความไม่รู้ในทุกขสัจจะด้วยเหตุ 4 คือ โดย
ภาวะที่หยั่งลงในภายใน โดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยการปกปิด.
จริงอย่างนั้น ความไม่รู้นั้น ชื่อว่าทุกขสัจจะ เพราะหยั่งลงในภายในทุกข์
เพราะนับเนื่องในทุกขสัจจะ ชื่อว่าเป็นวัตถุ เพราะเป็นนิสสยปัจจัยแห่ง
ทุกขสัจจะนั้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะเป็นอารัมมณปัจจัย ความไม่รู้นั้น

ย่อมปกปิดทุกขสัจจะ โดยห้ามการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงของ
ทุกขสัจจะนั้น และโดยปราศจากความเป็นไปแห่งญาณในข้อนี้.
พึงทราบความไม่รู้ในสมุทัยสัจจะ ด้วยเหตุ 3 คือ โดยวัตถุ โดย
อารมณ์ และโดยการปกปิด. แต่พึงทราบความไม่รู้ในนิโรธปฏิปทา
ด้วยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น คือโดยการปิดปิด. จริงอยู่ ความไม่รู้ที่ปกปิด
นิโรธปฏิปทานั่นแล โดยห้ามการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงของ
ปฏิปทาเหล่านั้น แต่โดยปราศจากความเป็นไปแห่งญาณในปฏิปทาเหล่า
นั้น ความไม่รู้นั้น มิได้หยั่งลงในภายในในปฏิปทาเหล่านั้น เพราะไม่
นับเนื่องในสัจจะทั้งสองนั้น สัจจะทั้งสองนั้น มิได้เป็นวัตถุ เพราะมิได้
เกิดร่วมกัน มิได้เป็นอารมณ์ เพราะมิได้ปรารภสิ่งนั้นเป็นไป. ก็สัจจะ
ทั้งสองข้างท้าย เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง ความไม่รู้ที่มืดตื้อย่อมไม่เป็น
ไปในสัจจะทั้งสองนั้น. ก็สัจจะข้อแรก ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นสภาวะ
ลักษณะโดยอรรถที่ควรกล่าวได้ยาก . ย่อมเป็นไปในความไม่รู้นั้น เพราะ
ยึดถือคลาดเคลื่อนไปจากความจริง.
อนึ่ง เพียงด้วยบทว่า ทุกฺเข นี้ ท่านแสดงอวิชชาโดยรวบรวม
โดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยกิจ. เพียงด้วยบทว่า ทุกฺขสมุทเย นี้
ท่านแสดงโดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยกิจ. เพียงด้วยบทว่า ทุกฺข-
นิโรธคามินิยา ปฏิปทาย
นี้ ท่านแสดงโดยกิจ. แต่โดยไม่พิเศษ ด้วย
บทว่า อญาณํ นี้ พึงทราบว่าท่านแสดงไขอวิชชาโดยสภาวะ.
บทว่า อิติ โข ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วย
ประการอย่างนี้แล. บทว่า นิโรโธ โหติ ได้แก่ไม่เกิดขึ้น. อนึ่ง ด้วย
บทว่า นิโรธ เหล่านั้นทุกบทในที่นี้ ท่านแสดงถึงพระนิพพาน. ด้วยว่า

ธรรมนั้น ๆ อาศัยพระนิพพาน ดับไป ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เตสํ นิโรโธ ดังนี้.
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงวัฏฏะและวิวัฏฏะ ด้วย
12 บท ในพระสูตรนี้ จึงให้เทศนาจบลงด้วยยอดแห่งพระอรหัตนั่นเอง.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ 500 รูปบรรลุพระอรหัต โดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.
จบอรรถกถาวิภังคสูตรที่ 2

3. ปฏิปทาสูตร



ว่าด้วยปฏิปทา 2



[19] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงมิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา
พวกเธอจงฟังปฏิปทาทั้ง 2 นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[20] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . .ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เรียกว่ามิจฉาปฏิปทา.
[21] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน. เพราะ
อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะ